บทที่2
เมนบอร์ด
2.1 บทนำ
อุปกรณ์หลักที่นำมาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์มีหลายชนิด
หนึ่งในนั้นคือเมนบอร์ด
ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์หัวใจตัวหนึ่งที่ใช้ในการประกอบคอมพิวเตอร์
เมนบอร์ดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่3ชนิดหลักๆ คือ
เมนบอร์ดชนิด AT,ATX,และเมนบอร์ดสำหรับเซอร์เวอร์ (MainboardServer)ซึ่งเมนบอร์ดแต่ละชนิดนั้นก็มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เช่น
เมนบอร์ดชนิด ATจะเป็นเมนบอร์ดรุ่นเก่าซึ่งใช้กับเคส (Case)ที่เป็นแบบชนิด ATด้วย
ซึ่งเมนบอร์รุ่นเก่านี้ระบบระบายความร้อนในเคสจะไม่สะดวกนักมักมีช่องว่างหรือเนื้อที่ภายในเคสน้อยจึงทำให้ข้างในเคสมีความร้อนสูงกว่าแบบ
ATXซึ่งเป็นเมนบอร์ดที่ผลิตออกมาสำหรับเคสแบบ ATXจะมีเนื้อที่ภายในเคสค่อนข้างมากจึงทำให้อากาศถ่ายเทได้ดีกว่า
2.2 เมนบอร์ดคืออะไร
นับตั้งแต่ได้มีการคิดค้นเครื่องpcขึ้นมา ก็ปรากฏเจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ ที่รวบรวมเอาชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ที่สำคัญๆเข้ามาไว้ด้วยกัน เจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้านี้ก็มีชื่อเรียกว่า เมนบอร์ด(MainBoard)หรือมาเธอร์บอร์ด(Motherboard)หรือ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็จะเรียกว่าแผงวงจรหลัก ซึ่งเมนบอร์ดนี้เองที่เป็นส่วนควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆภายในpcทั้งหมด เมนบอร์ดนี้จะมีลักษะณะเป็นแผ่นรูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นใหญ่ที่สุดในพีซีที่จะรวบรวมเอาชิปและไอซี(IC-Integrated circuit)รวมทั้งการ์ดต่อพ่วงอื่นๆเอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงแผ่นเดียว เครื่องพีซีทุเครื่องไม่สามารถทำงานได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
รูปที่ 1 แสดงรูปเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี
2.3 ความเป็นมาของเมนบอร์ด
พัฒนาการของเมนบอร์ดมีมาตัองแต่ครั้งไอบีเอ็มออกแบบพีซีในปี 2524 โดยพัฒนาขนาดรูปร่างของเมนบอร์ดมาใช้กับเครื่องรุ่นพีซี และต่อมายังพัฒนาใช้กับรุ่นเอ็กซ์ที ครั้งถึงรุ่นเอที ก็ได้หาทางสร้างขนาดของเมนบอร์ดให้มีมาตรฐานขึยน โดยเฉพาะเครื่องทื่พัฒนาต่อมาจะใช้ขนาดของเมนบอร์ดเอทีเป็นหลักจนเมื่อพัฒนาการของเทคโนโลยีก้าวหน้ามามาก สิ่งทิ่ต้องคำนึงถึงในเมนบอร์ดยิ่ง มีความสำคัญ จนกระทั้งถึงประมาณปี พ.ศ. 2538 หรือขณะนั้นพีซีกำลังก้าวสู่รุ่นเพนเตียม บริษัทอินเทลได้เสนอขนาดของเมนบอร์ดแบบมาตรฐานและเรียกว่า ATX ซึ่งใช้งานกันจนถึงทุกวันนี้จากขนาดของ ATX ก็มีพัฒนาการต่อเพื่อทำเครื่องให้มีขนาดกระทัดรัดขึ้น โดยลดขนาดของเมนบอร์ดลงและเรียกว่า microATX และลดลงอีกในรูปแบบที่ชื่อ FlexATXลัก
เมนบอร์ดแบบ ATX
เมนบอร์ดแบบ ATXนั้นถือได้ว่าเป็นมาตรฐานที่มีใช้กันมานานและได้รับความนิยมอย่างสูงตั่งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้เหมาะสมกับเคสขนาดเล็กที่จะช่วยให้ประหยัดพื้นที่และค่าใช้จ่าย โดยลดจำนวนบางอย่างเช่น PCI Slot บนเมนบบอร์ดลงไปพร้อมกับนำเอาอุปกรณ์บางอย่างเช่น การ์ดเสียง มาบรรจุลงบนตัวเมนบอร์ดอยู่ในรูปแบบขอออองชิปเสียงทำให้กลายเป็นเมนบอร์ดขนาดกะทัดรัดที่มีคุณสมบัติต่างครบถ้วน เช่น เมนบอร์ดแบบ MicroATXและ Flex ATX เป็นเมนบอร์ดที่ได้รับความนิยมอย่างสูงโดยทั่วไปจะมีสล็อตแบบ PCI 5-6 สล็อต , AGP 1 สล็อต และช่องเสียบ RAMขึ้นอยู่แต่ละ ยี่ห้อ เป็นต้น รวมถึงคอนเน็กเตอร์ต่างๆก็แยกเป็นสีติดอยู่กับตัว เมนบอร์ดทางด้านหลังเลย
เมนบอร์ดรุ่น ATX
เมนบอร์ดแบบ Micro ATX
เป็นเมนบอร์ดสำหรับผู้ใช้ต้องการความประหยัด และต้องการนำไปใช้แบบทั่ว ๆ ไปอุปกรณ์ส่วนใหญ่มักเป็นแบบออนบอร์ด เช่น การ์ดจอ การ์ดเสียงและการ์ดแลนจึงลดจำนวน สล็อต PCIเหลือแค่ 3-4 สล็อตเท่านั้น
เป็นเมนบอร์ดสำหรับผู้ใช้ต้องการความประหยัด และต้องการนำไปใช้แบบทั่ว ๆ ไปอุปกรณ์ส่วนใหญ่มักเป็นแบบออนบอร์ด เช่น การ์ดจอ การ์ดเสียงและการ์ดแลนจึงลดจำนวน สล็อต PCIเหลือแค่ 3-4 สล็อตเท่านั้น
เมนบอร์ดรุ่น Micro ATX
2.4 ส่วนประกอบของเมนบอร์ด
Socketคือส่วนที่ใช้สำหรับใส่ซีพียู ซึ่งแต่ละเมนบอร์ดจะออกแบบ ซ็อกเก็ต ให้เหมาะสมกับซีพียูที่เมนบอร์ดนั้นรองรับ IDE-Steckplatzคือช่องสำหรับเสียบสายแพร ที่ใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ และซีดีรอมRAM-Speicherplatze(DIMM)คือช่องสำหรับเสียบเมมโมรี หรือแรม บางเมนบอร์ดอาจจะเสียบเมมโมรี ได้ถึงสองชนิดในบอร์ดเดียว
Externe Schnittstllen พอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเช่น ปริ้นเตอร์
Disketten - Laufwerk คือช่องสำหรับเสียบสายแพร สำหรับเสียบกับฟล็อปปี้ดิสก์
Stromstecker ช่องสำหรับเสียบสาย Power ซึ่งมีสองแบบคือ สายแบบ AT และ สายแบบ ATX
Chipsatz คือ ชิปที่รวบรวมคำสั่งเพื่อสนับสนุนการทำงานของเมนบอร์ด
AGP - Steckplatz คือ สล็อตสำหรับเสียบการ์ดแสดงภาพแบบชนิด AGP
Batterie fur die Exhtzeituhr คือแบตเตอรี่สำหรับเลี้ยงไบออส เมื่อเวลาปิดเครื่อง เมื่อเปิดเครื่องจะชาร์ตการทำงานได้
PCI - Steckplatze คือ สล็อตสำหรับเสียบการ์ดแบบPCI
ISA - Steckplatze คือ สล็อตสำหรับเสียบการ์ดแบบ ISA ซึ่งปัจจุบันเมนบอร์ดใหม่ๆ จะไม่มีสล็อนี้
2.5 ชิปเซต
Chipsetเป็นชุดหรือกลุ่มของไมโครชิป ที่ได้รับการออกแบบให้ทำงานเป็นหน่วย ในการทำงานฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกัน chipset ที่เป็นตัวอย่างได้แก่ Intel 430HX PCI set สำหรับไมโครโพรเซสเซอร์รุ่น Pentium II ในตัว Chipset ได้ให้ตัวควบคุมบัส PCI และออกแบบสำหรับคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ เพื่อการหาค่าเหมาะสม ของการส่งผ่านทรานแซคชัน (transaction) ระหว่างไมโครโพรเซสเซอร์, PCI และ ISA ให้เร็วขึ้น ทำให้ระบบมัลติมีเดียมีการทำงานที่ราบเรียบ รวมถึงการย้อนกลับ และการประยุกต์ นอกจากนี้ chipset สามารถสนับสนุน Universal Serial Bus (USB)
Socketคือส่วนที่ใช้สำหรับใส่ซีพียู ซึ่งแต่ละเมนบอร์ดจะออกแบบ ซ็อกเก็ต ให้เหมาะสมกับซีพียูที่เมนบอร์ดนั้นรองรับ IDE-Steckplatzคือช่องสำหรับเสียบสายแพร ที่ใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ และซีดีรอมRAM-Speicherplatze(DIMM)คือช่องสำหรับเสียบเมมโมรี หรือแรม บางเมนบอร์ดอาจจะเสียบเมมโมรี ได้ถึงสองชนิดในบอร์ดเดียว
Externe Schnittstllen พอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเช่น ปริ้นเตอร์
Disketten - Laufwerk คือช่องสำหรับเสียบสายแพร สำหรับเสียบกับฟล็อปปี้ดิสก์
Stromstecker ช่องสำหรับเสียบสาย Power ซึ่งมีสองแบบคือ สายแบบ AT และ สายแบบ ATX
Chipsatz คือ ชิปที่รวบรวมคำสั่งเพื่อสนับสนุนการทำงานของเมนบอร์ด
AGP - Steckplatz คือ สล็อตสำหรับเสียบการ์ดแสดงภาพแบบชนิด AGP
Batterie fur die Exhtzeituhr คือแบตเตอรี่สำหรับเลี้ยงไบออส เมื่อเวลาปิดเครื่อง เมื่อเปิดเครื่องจะชาร์ตการทำงานได้
PCI - Steckplatze คือ สล็อตสำหรับเสียบการ์ดแบบPCI
ISA - Steckplatze คือ สล็อตสำหรับเสียบการ์ดแบบ ISA ซึ่งปัจจุบันเมนบอร์ดใหม่ๆ จะไม่มีสล็อนี้
2.5 ชิปเซต
Chipsetเป็นชุดหรือกลุ่มของไมโครชิป ที่ได้รับการออกแบบให้ทำงานเป็นหน่วย ในการทำงานฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกัน chipset ที่เป็นตัวอย่างได้แก่ Intel 430HX PCI set สำหรับไมโครโพรเซสเซอร์รุ่น Pentium II ในตัว Chipset ได้ให้ตัวควบคุมบัส PCI และออกแบบสำหรับคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ เพื่อการหาค่าเหมาะสม ของการส่งผ่านทรานแซคชัน (transaction) ระหว่างไมโครโพรเซสเซอร์, PCI และ ISA ให้เร็วขึ้น ทำให้ระบบมัลติมีเดียมีการทำงานที่ราบเรียบ รวมถึงการย้อนกลับ และการประยุกต์ นอกจากนี้ chipset สามารถสนับสนุน Universal Serial Bus (USB)
รูปที่ 2 แสดงภาพของชิปเซต
2.6 สล็อต
คือ ช่องเสียบภายในคอนโซลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งออกแบบมาให้สามารถเสียบต่อสายเคเบิลได้เพิ่มขึ้นจากปกติ เพื่อทำให้ระบบสมบูรณ์ขึ้น IBM PC มักจะมี expansion slot จาก 3 ถึง 8 ช่อง ส่วนแอปเปิล แมคอินทอช มักจะไม่มี expansion slot
2.6.1 สล็อตสีขาวหรือ PCI Slot
รูปที่ 3 แสดงภาพสล็อต พีซีไอ
คือ เป็นช่องที่เอาไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ติดตั้งการ์ด SCSI การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็มแบบ Internalเมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่จะมีสล็อตพีซีไอเป็นสีขาวครีม แต่ก็มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อตพีซีไอโดยใช้สีแตกต่าง เช่น สีน้ำเงิน เพื่อใช้ติดตั้งการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ สล็อตแบบพีซีไอนั้นถูกออกแบบมาแทนสล็อตแบบ VL ซึ่งทำงานได้ช้า การติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยาก เนื่องจากต้องเซ็ตจัมเปอร์ แต่พีซีไอนั้นจะเป็นระบบ PlugandPlayที่ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่ายกว่า อุปกรณ์บางอย่าง เช่น การ์ดเสียง เมื่อติดตั้งแล้วโอเอส จะรู้จักทันทีหรือเพียงแค่ลงไดรเวอร์เพิ่มเติมเท่านั้น อนึ่งสล็อตแบบพีซีไอนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า PCIBusซึ่งก็หมายถึง เส้นทางที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ดกับอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยบัสแบบจะทำงานในระบบ 32 บิต
2.6.2 สล็อตสีดำหรือ ISA Slot
รูปที่ 4 แสดงภาพสล็อต ไอเอสเอ
คือ เป็นสล็อตแบบเก่า ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมใช้แล้ว (ปัจจุบันนิยมใช้ PCI)แต่อาจยังมีคงเหลืออยู่บ้าง มีลักษณะเป็นช่องขนาดยาว สีดำ การทำงานจะส่งข้อมูลได้เพียง 16 บิต
2.6.3 สล็อตสีน้ำตาลหรือAGP Slot
รูปที่ 5 แสดงภาพสล็อต เอจีพี
เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผล
หรือการ์ดจอเท่านั้น สล็อตเอจีพีจะมีสีน้ำตาล ตำแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อต พีซีไอ
และอยู่ใกล้กับตำแหน่งของซ็อคเก็ตที่ติดตั้งซีพียู
สล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น ซึ่งมีข้อสังเกตๆ
ง่ายคือ 2X 4X
และล่าสุด 8X ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น
และล่าสุด 8X ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น
2.7การเลือกใช้งานเมนบอร์ด
ปัจจัยการเลือกซื้อ
Mainboard (เมนบอร์ด) นั้น
ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้อุปกรณ์ที่คุณต้องการนำมาใช้งานเป็นหลักโดยส่วนที่สำคัญมากในการ
เลือก Mainboard (เมนบอร์ด) นั่นก็คือ ซีพียูนั่นเองครับ
ยกตัวอย่างถ้าคุณต้องการใช้งานซีพียูของทางค่าย AMD ไม่ว่าจะเป็น
Athlon XPหรือ Duron ก็ตามคุณก็ต้องเลือกซื้อ
Mainboard (เมนบอร์ด) ที่รองรับการ ทำงานของซีพียูที่เป็นแบบ
Socket A หลังจากนั้นก็เป็นในส่วนของหน่วยความจำว่าจะเลือกใช้แบบไหน
DDR-SDRAMหรือ SDRAM ( DDR SDRAM เพื่ออนาคตที่สดใสกว่า)หรืออาจจะใช้ทั้ง
DDR-SDRAM และ SDRAM ก็ได้คุณก็ต้องเลือกซื้อ
Mainboard (เมนบอร์ด)
ที่สนับสนุนการทำงานกับหน่วยความแบบดังกล่าว เป็นต้น ใน Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นจะนำระบบเสียงหรือระบบประมวลผลภาพ(VGA)ไว้ในตัว ดังนั้น คุณอาจไม่จำเป็นต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ทั้งสองประเภทนี้
ในขณะที่ Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นก็จะรวมเอา LAN
(local area network) ไว้ในตัวด้วย
ทำให้คุณไม่ต้องเสียเงินซื้อการ์ดเน็ตเวิร์กสำหรับใช้ท่องโลกอินเทอร์เน็ต
(เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีงบซื้อจำกัด) แต่ถ้าใน Mainboard (เมนบอร์ด)
ที่คุณเลือกซื้อไม่มีอุปกรณ์ดังที่กล่าวในตัว คุณก็จำต้องจ่ายเงินเพิ่ม
เพื่อซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นทีหลัง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ
ราคาแล้วบางทีก็แพงกว่าการซื้อแบบรวมเสียอีกแต่ประสิทธิภาพจะไม่ดีเท่ากับอุปกรณ์ที่แยกชิ้นประกอบอย่างไรก็ตามเมื่อจะ
ซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ให้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์
ของคุณแล้วก็ต้องดูให้ระเอียดกันหน่อย อย่านิยมเลือกเอาแต่ประหยัดอย่างเดียว
การใช้งานคอมพิวเตอร์สำคัญที่สุด
ถึงแม้ Mainboard (เมนบอร์ด) จะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญ แต่ราคาของ Mainboard (เมนบอร์ด) นั้นไม่ได้มีราคาแพงมากมายนักรวมถึงยังมีให้เลือกใช้มากมายหลายรุ่นตามความเหมาะสมของผู้ใช้ โดย Mainboard (เมนบอร์ด) ราคาประหยัดเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณพันกว่าบาท และไต่ระดับไปถึงช่วงราคาสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระดับกลางที่ 3,000-5,000 บาท หลังจากนั้นถือเป็นราคาสำหรับผู้ใช้งานระดับสูงที่ราคาสูงทะลุหมื่นบาทไปเลยทีเดียว โดยบริษัทผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ที่ได้รับความนิยม หรือพูดง่ายๆ ก็คือแบรนด์เนมของ Mainboard (เมนบอร์ด) ติดตลาดผู้ซื้อ ก็เห็นจะมี ASUS, ABIT, GIGABYTE , MSI, ASROCK
คุณสมบัติที่สำคัญของ Mainboard (เมนบอร์ด) ในปัจจุบันที่ต้องพิจารณาก่อนทำการเลือกซื้อนั้นนอกเหนือจากราคาที่ผู้ใช้ต้องเป็นผู้กำหนด อาทิ ความยืดหยุ่นในการรองรับการทำงานของระบบฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงาน ช่องสัญญาณในการรองรับการใช้งาน อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับตัว Mainboard (เมนบอร์ด) ทางที่ดีควรจะมีเอาไว้ก่อน และที่สำคัญนั้นก็คือการรับประกันที่คุณมิควรมองข้ามนั่นเอง
ถึงแม้ Mainboard (เมนบอร์ด) จะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญ แต่ราคาของ Mainboard (เมนบอร์ด) นั้นไม่ได้มีราคาแพงมากมายนักรวมถึงยังมีให้เลือกใช้มากมายหลายรุ่นตามความเหมาะสมของผู้ใช้ โดย Mainboard (เมนบอร์ด) ราคาประหยัดเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณพันกว่าบาท และไต่ระดับไปถึงช่วงราคาสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระดับกลางที่ 3,000-5,000 บาท หลังจากนั้นถือเป็นราคาสำหรับผู้ใช้งานระดับสูงที่ราคาสูงทะลุหมื่นบาทไปเลยทีเดียว โดยบริษัทผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ที่ได้รับความนิยม หรือพูดง่ายๆ ก็คือแบรนด์เนมของ Mainboard (เมนบอร์ด) ติดตลาดผู้ซื้อ ก็เห็นจะมี ASUS, ABIT, GIGABYTE , MSI, ASROCK
คุณสมบัติที่สำคัญของ Mainboard (เมนบอร์ด) ในปัจจุบันที่ต้องพิจารณาก่อนทำการเลือกซื้อนั้นนอกเหนือจากราคาที่ผู้ใช้ต้องเป็นผู้กำหนด อาทิ ความยืดหยุ่นในการรองรับการทำงานของระบบฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงาน ช่องสัญญาณในการรองรับการใช้งาน อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับตัว Mainboard (เมนบอร์ด) ทางที่ดีควรจะมีเอาไว้ก่อน และที่สำคัญนั้นก็คือการรับประกันที่คุณมิควรมองข้ามนั่นเอง
2.8 เพาเวอร์ซัพพลาย
อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรามักจะมองข้ามไปและเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ
เพราะถ้าขาดเจ้าตัวนี้แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเก่งของเราก็เปรียบเสมือนกล่องเหล็กธรรมดาๆ
ใช้การอะไรไม่ได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือ แหล่งจ่ายไฟ หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)นั่นเองเพาเวอร์ซัพพลายมีหน้าที่หลักก็คือ เปลี่ยนแรงดันกระแสสลับจากไฟบ้าน 220โวลท์เอซี
ให้เป็นแรงดันไฟตรงดีซีที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้แหล่งจ่ายไฟคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือคอมพิวเตอร์พีซีนั้น ส่วนใหญ่จะบรรจุในเคสด้านหลัง
ถ้ามองไปที่หลังเคสจะเห็นก่องเหล็กสี่เหลี่ยมมีช่องเสียบสายไฟและพัดลมเพื่อระบายความร้อน
เพาเวอร์ซัพพลายจะใช้เทคโนโลยีที่เราเรียกว่า สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย
คือการเปลี่ยนแรงดันอินพุตกระแสสลับเอซี ให้เป็นแรงดันตํ่ากระแสตรง
แรงดันที่ออกแบบให้ออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายมีอยู่ทั่วไป 3ระดับคือ
3.3โวลท์ , 5โวลท์ และ 12โวลท์ โดยที่แรงดัน3.3โวลท์และแรงดัน5โวลท์
จะนำไปใช้ในวงจรดิจิตอล ส่วนแรงดัน12โวลท์ถูกนำไปใช้ในการหมุน
มอเตอร์ของดิสท์ไดรฟ์และพัดลมระบายความร้อนเ
มื่อหลายปีก่อนบางท่านที่เคยใช้คอมพิวเตอร์ยุคแรกๆตั้งแต่รุ่น 8088
จนถึงรุ่น 486 คงจะจำได้ว่าสวิตช์เปิดปิดของคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าพวกนี้
จะแตกต่างจากสวิตช์ปิดเปิดคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ด้วยเหตุว่า
คอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆนั้น จะใช้เพาเวอร์ซัพพลายแบบ ATซึ่งมีสวิตช์เพื่อควบคุมการปิดเปิดเพาเวอร์ซัพพลายโดยตรง และใช้สวิตช์กด
ติดค้างคล้ายๆกับสวิตช์เปิดปิดไฟบ้าน ซึ่งต่างจากคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันจะใช้สวิตช์แบบกดติดปล่อยดับ สวิตช์นี้จะไม่ต่อเข้ากับ
เพาเวอร์ซัพพลายโดยตรงแต่จะต่อกับแผงวงจรเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์
โดยใช้การควบคุมการปิดเปิดจากโปรแกรมปฎิบัติงาน สั่งให้แผงเมนบอร์ด
ปิดเพาเวอร์ซํพพลาย เมื่อเรากดสวิตช์นี้ เมนบอร์ดจะส่งแรงดัน 5โวลท์ไป
ยังส่วนควบคุมในเพาเวอร์ํซัพพลายเพื่อเปิดปิดการทำงานของตัวมัน
แรงดันไฟตรงนี้เราเรียกว่าแรงดัน VSB เพาเวอร์ซัพพลายรุ่นใหม่นี้เราเรียกแบบว่า แบบ ATX
ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีสวิตชิ่งในเพาเวอร์ซัพพลายจะเห็นได้ว่ามี
การพัฒนามาตั้งแต่ปี คศ.1980 ในตอนนั้นเพาเวอร์ซัพพลายมีขนาดใหญ่และนํ้าหนักมากที่เป็นเช่นนั้น
เพราะว่าในตัวเพาเวอร์ซํพพลายต้องใช้หม้อแปลงและตัวเก็บประจุ
ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาลดขนาดและนํ้าหนักของเพาเวอร์ซัพพลายลงได้มากเทคโนโลยีสวิตชิ่งไม่ใช่แค่นำไปใช้แต่คอมพิวเตอร์เท่านั้น
แต่ยังได้นำไปใช้ในการสร้างไฟกระแสสลับจากไฟตรง12โวลท์ของ
แบตเตอรี่รถยนต์เพื่อไปจ่ายให้เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่นทีวี วิดีโอ
ดังจะเห็นได้จากรถตู้หรือรถทัวร์เค้าใช้กัน วงจรพวกนี้เราเรียกว่า อินเวอร์เตอร์
เพาเวอร์ซํพพลายที่มีขายตามท้องตลาดนั้นมีหลายราคา หลายกำลังวัตต์ให้เลือก
ตั้งแต่200วัตต์ จนถึง 400วัตต์ขึ้นอยู่กับว่าคอมพิวเตอร์เราใช้ทรัพยากร
หรือว่ามีอุปกรณ์ต่อมากน้อยเพียงใด อุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์ กำลังวัตต์ที่อุปกรณ์ใช้
หน่วยประมวลผล CPU 15 - 45 วัตต์
Mainboard 20 - 30 วัตต์
Hard disk 5 - 15 วัตต์
CD-ROM drive 10 - 25 วัตต์
หน่วยความจำ RAM 5 - 11 วัตต์
Floppy disk drive 5 วัตต์
การ์แสดงผล AGP 20 - 30 วัตต์
การ์ด PCI เช่นการ์ดเสียง 5 วัตต์
การ์ด SCSI 20 - 25 วัตต์
การ์ด LAN 4 วัตต์
พัดลมระบายความร้อน 2 - 4 วัตต์ จะเห็นได้ว่ากำลังไฟทั้งหมดถ้ารวมๆกันแล้วก็ไม่เกิน 250วัตต์ จึงพอเพียงสำหรับ
เพาเวอร์ซํพพลายที่มีขายในปัจจุบันปัญหาที่เราพบบ่อยๆกับเจ้าตัวเพาเวอร์ซํพพลายก็คือความร้อนที่เกิดจากตัวมันเอง
โดยทั่วไปเพาเวอร์ซัพพลายจะมีพัดลมช่วยระบายความร้อน แต่ถ้าพัดลมนั้นเกิดเสื่อมสภาพ
หมุนช้าลงหรือหยุดหมุนไป อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเพาเวอร์ซัพพลายก็
จะร้อนขึ้นจนอาจจะไหม้ได้ หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะหยุดทำงานพร้อม
กับมีกลิ่นไหม้ตามมา ฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ก็ควรสำรวจพัดลมหรือฟังเสียง
พัดลมของเพาเวอร์ซัพพลาย ถ้าพัดลมหมุนช้าหรือหยุดหมุนไปก็ให้ปิด
เครื่องทันที ถ้ามีฝีมือหน่อยก็ถอดฝาออกมาแล้วก็ซื้อพัดลมขนาดเดียวกัน
มาเปลี่ยนแทน หรือถ้าไม่อยากยุ่งยากก็ซื้อใหม่ทั้งชุดเลย ปัจจุบันราคาของ
เพาเวอร์ซัพพลายไม่แพงมากนัก อยู่ระหว่างประมาณ 350 ถึง 500บาท
ขึ้นอยู่กับกำลังวัตต์ที่ใช้และรูปแบบของเพาเวอร์ซัพพลาย เวลาเปลี่ยนก็ควร
ปลดสายไฟออกทั้งหมดก่อนเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะตามมา
ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตเมนบอร์ดจึงได้สร้างเมนบอร์ที่สามารถอ่านค่าความเร็วของ
พัดลมทุกตัวในคอมพิวเตอร์ รวมทั้งพัดลมของเพาเวอร์ซํพพลายด้วย
โดยเมื่อพัดลมหมุนช้าลง หน่วยควบคุมในเมนบอร์ดก็จะส่งสัญญาณผ่าน
โปรแกรมมอนิเตอร์เตือนผู้ใช้ที่หน้าจอ ก่อนที่จะดับเครื่องตัวเอง
เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะตามมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น