วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 6 การ์ดแสดงผล

บทที่ 6 
การ์ดแสดงผล

การ์ดแสดงผล

    การ์ดแสดงผล (Graphic Card, Display Card หรือ VGA Card) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณทางดิจิตอลให้เปลี่ยนเป็นสัญญาณภาพที่แสดงผลผ่านจอคอมพิวเตอร์ ชนิดของการ์ดแสดงผลจะเป็นตัวกำหนดความเร็วในการแสดงผล ความละเอียดและความคมชัดของกราฟิก รวมทั้งจำนวนสีที่สามารถแสดงผลด้วย
      การ์ดแสดงผลจะประกอบด้วยส่วนต่างๆที่ไม่ซับซ้อนมากนักโดยส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนการ์ดจะมีข้อความอธิบาย ไว้ด้วย ซึ่งจะสนับสนุนช่องต่อแบบใดบ้างนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของการ์ดรุ่นนั้นๆด้วยสำหรับส่วนประกอบต่างๆ
      ที่สำคัญก็คือชิปกราฟิกแรมบนตัวการ์ดพอร์ตเชื่อมต่อสายสัญญาณกับจอภาพ และอินเทอร์เฟสของการ์ด
http://sukanya.net46.net/image/c1.gif

 นอกจากนั้นการ์ดบางรุ่นยังมีช่องต่อต่าง ๆ ต่อไปนี้เพิ่มด้วย
        ช่อง DVI สำหรับต่อกับจอภาพ LCD
        ช่อง Video – in สำหรับรับไฟล์วิดีโอจากกล้องวิดีโอ
        ช่อง Video-out สำหรับแสดง/นำไฟล์วิดีโอออกไปยังอุปกรณ์ภายนอก
        ช่อง TV-out สำหรับต่อเข้ากับทีวี (เป็นการ์ดแบบ TV-Tunner )

http://sukanya.net46.net/image/c2.gif
      คอมพิวเตอร์รุ่นประหยัดในปัจจุบัน มักจะมีชิปสำหรับแสดงผลติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ด หรือเรียกว่า Video on Board อยู่แล้ว ซึ่งส่วนเชื่อมต่อต่าง ๆ ที่ออกมาทางด้านหลังของเมนบอร์ดก็จะมี เพียงพอร์ต VGA สำหรับต่อเข้ากับสายสัญญาณจากจอภาพเท่านั้น
          นอกจากชิปแสดงผลยอดนิยมจากค่าย nVidia และ ATi แล้วยังมีผู้ผลิต จากค่ายอื่น ด้วย ซึ่งก็มุ่งเน้นตลาดในระดับที่แตกต่างกันไป ดังนี้
                     

     นอกจากการพิจารณาตัวชิปบนการ์ดแล้ว ในการเลือกการ์ดแสดงผลมาใช้งานยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบ

       กันด้วย  เพื่อให้ได้การ์ดที่มีประสิทธิภาพตรงกับงานที่ทำอยู่ด้วย เช่น มาตรฐาน การเชื่อมต่อ ชนิดและขนาดของแรมบนการ์ด เป็นต้น

      มาตรฐานการเชื่อมต่อ  การแสดงผลในปัจจุบันใช้ระบบบัสเชื่อมต่อแบบ AGP ( Accelerated Graphic Port ) 

  ซึ่งมาแทนการเชื่อมต่อแบบ PCI โดยมาตรฐาน AGP นี้ทำให้ได้ความเร็วด้านการแสดงผลเพิ่มขึ้น เริ่มต้นที่ความถี่ 66 MHz

 (ในระบบบัส PCI ทำงานที่ความถี่33 MHz )  และความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 266 MB/sโดยปัจจุบัน พัฒนาไปถึงมาตรฐาน AGP 8x 
 ที่มีความเร็วในการทำงานถึง 2 GB/s เลยทีเดียว


1) มาตรฐาน AGP 4x เป็นมาตรฐานที่มีใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน โดยรับ/ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วเป็น เท่า

  ของ AGP 2x  โดยใช้ความกว้างบัส 32 บิต สามารถส่งข้อมูลได้ 4ครั้งใน สัญญาณความถี่ ดังนั้นความถี่ในการส่งข้อมูลจะเท่ากับ

 266 MHz นั่นคือความเร็ว ในการรับส่งข้อมูลสูงสุดเป็น 266 MHz x 4 Bytes = 1064 MB/sหรือ 1 GB/s

                       2) มาตรฐาน AGP 8x AGP 8x เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อใหม่ที่สามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงสุด 2 GB/s

  ปัจจุบันเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ สนับสนุนมาตรฐานนี้กันบ้างแล้ว โดยการ์ดหลาย ๆ รุ่น เช่น ของ WinFast ที่ใช้ชิปกราฟฟิก

 GeForce FX 5800 หรือการ์ดของ Gigabyte ที่ใช้ชิปกราฟฟิก ATi Radeon 9000 Pro ก็รองรับมาตรฐาน AGP 8x ด้วย

               3.2 หน่วยความจำบนการ์ดแสดงผล  การทำงานของการ์ดแสดงผลนั้น มีอยู่ 2โหมด คือใหมด Text และโหมด

  Gaphic ซึ่งปัจจุบัน ในการทำงานบน Windows นั้นเป็นการแสดงผลในแบบโหมดGraphicซึ่งหน่วยความจำบนการ์ดจะคอยรับข้อมูล

 ที่มาจากซีพียูถ้าหน่วยความจำ มากก็จะรับข้อมูลจากซีพียูมากช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้น

                 การพิจารณาหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลนั้น สิ่งที่ควรดูมากที่สุดก็คือเรื่องของประเภทแรม

   และขนาดแรม   แรมที่ใช้บนการ์ดแสดงผลในปัจจุบันมีตั่งแต่ 32-128 MB ซึ่งขนาดของแรมที่มากก็จะช่วยให้คุณภาพ

 การ์ดแสดงผลของการ์ดสูงขึ้นตามไปด้วย  สำหรับชนิดของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ดแสดงผลในปัจจุบันนั้นมีดังนี้  

                       1) แรมชนิด SDRAM เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้เป็นหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั่นเอง มีอัตราการส่งข้อมูล

  โดยประมาณ 528 MB  ยังคงมีการนำมาใช้บนการ์ดแสดงผลในปัจจุบัน รองจากแรมชนิด DDR SDRAM ที่มักเป็นมาตรฐานของ

  การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ๆ
                        2) แรมชนิด DDR SDRAM เป็นแรมที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้บนการ์ดแสดงผลมากที่สุด
 ในปัจจุบัน  เพราะสามารถทำงานได้เร็วกว่าแรมชนิด SDRAM ถึง 2เท่าที่ความถี่เดียวกัน
                       3) แรมชนิด DDR2 เป็นแรมที่ถูกพัฒนาเพื่อทำงานร่วมกับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะ และจะนำไปใช้

                เป็นแรมปกติที่ทำงานร่วมกับซีพียูด้วย DDR2 จะเข้ามาช่วยลดปัญหาคอขวดในการรับส่งข้อมูล ระหว่างชิปกราฟฟิก

  ไปยังหน่วย ความจำบัฟเฟอร์ ทำให้สามารถแสดงผลได้รวดเร็วขึ้น รองรับการทำงานที่ความเร็วมากถึง 1 GHz 
การทำงานของการ์ดแสดงผล
การ์ดแสดงผล  (display adapter) เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง คอมพิวเตอร์กับจอภาพ 
ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ
ถ้าคุณซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สักตัวก็จะได้รับจอภาพพร้อมกับการ์ดแสดงผลที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์มาด้วย (การ์ดแสดงผลมักจะเสียบอยู่กับช่องเสียบการ์ดแสดงผลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์    แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์บางรุ่นที่การ์ดแสดงผลเชื่อมอยู่บนกระดานระบบ)
ข้อควรระวัง  ในกรณีที่คุณต้องการเปลี่ยนจอภาพ ควรจะถามผู้ขายด้วยว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลด้วยหรือไม่ เพราะจอภาพบางรุ่นจำเป็นต้องใช้ควบคูกับการ์ดแสดงผลเฉพาะรุ่น
 (การแสดงผล  {มักจะเรียกว่าวิดีโอการ์ด}  จะทำงานคู่กันกับจอภาพ)

                จอภาพแบบมัลติสแกน  (Multiscan monitor)  จะสามารถทำงานร่วมกับการ์ดแสดงผลได้หลากหลายรุ่น  ข้อดีของจอภาพแบบนี้ก็คือ  ในกรณีที่คุณเปลี่ยนการ์ด  แสดงผลใหม่  คุณก็สามารถใช้จอภาพชนิดนี้ต่อเชื่อมได้ทันที  โดยไม่ต้องเปลี่ยนจอภาพใหม่เหมือนกับการ์ดแสดงผลบางรุ่น  แต่ข้อเสียของจอภาพแบบนี้ก็คือมีราคาแพง
บางครั้งคุณอาจจะได้ยินคนบานเรียกการ์ดแสดงผลว่า  “การ์กากราฟิก”(Graphic board)  หรืออาจจะเรียกว่า  “ตัวแปลงสัญญาณกราฟิก”  (Graphic adapter)  หรือแม้แต่ตัวแปลงสัญญาณวิดีโอ  (Video adapter)  หรือวิดีโอบอร์  (Video board)  ไม่ต้องสับสนทุกคำล้วนหมายถึงการ์ดแสดงผลทั้งสิ้น

สี
คุณต้องการสีสันบนจอภาพหรือไม่  ถ้าใครต้องการ คำแนะนำของผมก็คือ  ซื้อจอภาพสีซะถึงแม้ว่าคุณจะต้องใช้เวลากับการทำงานบนโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์  โปรแกรมบัญชีและพิมพ์ออกมาในแบบขาวดำ  แต่ถ้าคุณมีจอภาพสีคุณจะรู้สึกถึงความสนุกสนาน และความง่ายในการใช้งานมากกว่าใช้จอภาพขาวดำ   ไม่ว่าจะเป็นโปรดแกรมเวิร์ดโปรดเซสเซอร์โปรดแกรมกระดานอีเล็กทรอนิกส์  หรือโปรแกรม   อื่นใดก็ตามจอภาพสีมอบความสบายให้กับคุณมากกว่า เช่น  คุณจะสามารถเห็นตัวอักษรที่เลือกได้ง่ายกว่า หรือเมื่อคุณมีตัวเลขติดลบบนกระดานอิเล็กทรอนิกส์     โปรแกรมก็จะแสดงตัวเลขนั้นออกบนจอภาพในรูปแบบของตัวเลขสีแดง เป็นต้น และที่สำคัญที่สุด จอภาพสีได้รับความนิยมในการใช้งานสูงการซ่อมแซมทำได้ง่าย และ  ราคาถูกกว่า

ความละเอียด
ความละเอียดของจอภาพขึ้นอยู่กับจำนวนจุดแสงที่มีอยู่บนจอภาพ  (ซึ่งเรียกว่า    “พิกเซล” (Pixel)  มาจากคำว่า  Picture elements)  จอภาพที่มีความละเอียดสูงจะทำให้คุณมองภาพที่อยู่บนจอได้ง่าย  และเห็นรายละเอียดต่าง ๆ อย่างชัดเจน
ทุกวันนี้มาตรฐานต่ำสุดของจอภาพสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความ -สามารถเหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM  compatible) ก็คือ   จอภาพแบบ  VGA  (มาจาก  Video Graphic Array)  จอภาพแบบนี้สามารถแสดงผลได้ที่ความละเอียด 640  พิกเซลทางด้านแนวนอน และ  480  พิกเซลทางด้านแนวตั้ง   แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการวางขายในปัจจุบันมักจะขายพร้อมกับจอภาพในแบบ  SVGA  (Super  VGA)  ซึ่งจะสามารถแสดงผลได้ที่ความละเอียด  800  คูณ  600  พิกเซล หรือ  1,024 คูณ  768  พิกเซล ขึ้นอยู่กับโปรม-แกรมที่ใช้งาน และถ้าคุณต้องการที่จะใช้งานโปรแกรมมัลติมีเดียคุณควรจะเลือกใช้จอภาพแบบ  SVGA  เพราะว่าโปรดแกรมมัลติมีเดียส่วนมากต้องการจอภาพในแบบ  SVGA (จอภาพ  SVGA  จะสามารถทำงานในโหมด  VGA  ได้ดีเท่า ๆ กับจอภาพแบบ  VGA)



ขนาด
จอภาพมาตรฐานทั่วไปมักจะมีขนาด  14  นิ้ว  (วัดตามเส้นทแยงมุมเหมือนการวัด   ขนาดโทรทัศน์)  แต่ถ้าคุณมีกำลังซื้อมาก  คุณอาจจะซื้อจอภาพที่มีขนาด  15  นิ้ว,  16  นิ้ว, 17  นิ้ว  เพราะว่าจอภาพยิ่งมีขนาดใหญ่ก็จะแสดงผลต่าง ๆ บนจอกภาพได้มากขึ้น มองเห็นได้ชัดขึ้น
จอภาพที่ใหญ่ที่สุดที่มีการผลิตจำหน่ายในปัจจุบัน  มักจะนิยมผลิตขนาด    20  นิ้ว, 21  นิ้ว และ  24  นิ้ว  จอภาพยิ่งมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งมีราคาแพงมากขึ้น  ข้อดีของจอภาพขนาดใหญ่ก็คือมองเห็นภาพขนจอได้ชัดเจน สามารถแสดงข้อมูล  บนจอภาพได้มกกว่าจอภาพธรรมดาเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องทำงานกับกระดานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีปริมาณข้อมูลมาก ๆ  เพราะจะเห็นข้อมูลทั้งหมดได้ในเวลาเดียวกัน แต่มิใช่ว่าจอภาพขนาดใหญ่จะมีแต่ข้อดี ข้อเสียก็มีเหมือนกัน ข้อเสียของจอภาพขนาดใหญ่ก็คือ ราคาแพง นอกจากนั้นยังใช้เนื้อที่บนโต๊ะมาก และอาจมีความสว่างในการแสดงผลมากเกินไปสำหรับบางคน อาจจะทำให้แสบตา ซึ่งผู้เขียนก็ไม่ได้   ต้องการให้ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องซื้อจอภาพใหญ่ ๆ มาใช้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนมากกว่า

คุณภาพของภาพ

มีหลายปัจจัยที่เราจะต้องใช้เมื่อเวลาที่เราต้องการจะตัดสินว่าจอภาพใดมีคุณภาพ     มากกว่ากันสิ่งที่สำคัญที่สุด  และต้องให้ความสำคัญกับมันมากกว่าอย่างอื่น  เมื่อ   ต้องการจะตัดสินถึงคุณภาพของจอภาพก็คือ ระยะห่างระหว่างจุด  (dot pitch),     อัตราการสร้างภาพใหม่ในแนวตั้ว  (vertical refresh rate)  และการเต้นของภาพ   (interlacing)  และสิ่งสุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุดก็คือ  ความชอบของตัวผู้ซื้อ  ระยะห่างระหว่างจุดจะใช้สำหรับการวัดคุณภาพของจอภาพสีเท่านั้น  ซึ่งระยะห่างระหว่าง   จุดนี้จะบ่งบอกถึงความละเอียดของแต่ละพิกเซลบนจอภาพ จอภาพที่มีระยะห่างระหว่างจุดน้อย จะแสดงภาพบนจอภาพได้ดีกว่าจอภาพที่มีระยะห่างระหว่างจอภาพมาก จอภาพขนาด  14  นิ้ว ควรจะมีระยะห่างระหว่างจุดประมาณ  0.28  หรือน้อยกว่า ในขณะที่จอภาพใหญ่อาจจะมีค่าระยะห่างระหว่างจุดมากกว่าจอภาพ  14  นิ้ว
เล็กน้อย อย่างไรก็ตามจงอย่าตกเป็นเหยื่อของผู้ขายถ้าพวกเขาเหล่านั้นเสนอขายจอภาพที่มีระยะห่างระหว่างจุดสูง ๆ ในราคาที่ถูกกว่าจอภาพที่มีระยะห่างระหว่าง จุดต่ำ ๆ พวกเข้าเหล่านั้นมักจะมีวิธีที่ทำให้คุณหลงเชื่อว่า  จอภาพที่มีระยะห่างระหว่างจุดต่ำ ๆ สามารถแสดงผลได้ชัดเจนเทียบเท่ากับจอภาพที่มีระยะห่างระหว่างจุดสูง ๆ โดยพวกเขาเหล่านั้นมักจะแสดงให้คุณดูในภาพกราฟิก และชี้ให้คุณเห็นว่าไม่มีความแตกต่างในการแสดงผลแบบกราฟิก แต่สิ่งที่วัดคุณภาพ หรือความละเอียดของจอภาพไม่ได้วัดจากการที่จอภาพสามารถแสดงภาพกราฟิกบนจอได้ชัดเจน   มากน้อยเพียงไร  และถ้าคุณต้องการจะดูว่าจอภาพดังกล่าวมีคุณภาพมากน้อย   เพียงไร  ให้ดูจากความคมชัดของตัวอักษรที่แสดงบนจอภาพ

                ส่วนอัตราการสร้างภาพใหม่ในแนวตั้งของจอภาพ จะแสดงให้คุณทราบถึง     จำนวนวครั้งที่จอภาพทำการกวาดเส้นสร้างภาพจากตำแหน่งบนสุดของจอภาพ ไปถึงตำแหน่งล่างสุดของจอภาพต่อวินาที  จอภาพที่มีค่านี้ยิ่งมากเท่าไรยิ่งมีคุณภาพดีมากเท่านั้น อัตราการสร้างภาพนี้จะมีหน่วยเป็นเฮิรตซ์  (Hz)  จอภาพส่วนใหญ่จะมีอัตราการสร้างภาพที่  60  ครั้งต่อนาที่ (60  Hz)  ซึ่งเรียกว่าดีพอสำหรับการแสดงผลตัวอักษร แต่อาจจะไม่ค่อยดีสำหรับการแสดงผลในแบบกราฟิก  ซึ่งเป็นหัวใจหลักของวินโดวส์และโปรดแกรมใช้งานที่ทำงานภายใต้วินโดวส์โดยทั่วไป  ซึ่งควรจะใช้จอภาพในแบบ  SVGA  ซึ่งมีอัตราการแสดงผลที่  72  Hz

                การเต้นของภาพเกิดจากกระบวนการสร้างภาพบนจอภาพ  จอภาพที่มี     การเต้น  (Interlaced monitor)  เกิดจากการหลอดภาพของจอภาพชนิดนี้จะต้องกวาดลำแสงสองครั้งเพื่อสร้างภาพ  (เหมือนกับโทรทัศน์)  แต่สำหรับจอภาพที่มี    การกวาดลำแสงในการสร้างภาพเพียงครั้งเดียว  จะให้ภาพที่นิ่งกว่าและระคายเคือง  ตาเวลาทำงานหน้าจอภาพนาน ๆ น้อยกว่า เราเรียกจอภาพแบบนี้ว่า “noninterlaced monitor”

                ดังนั้น  ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อจอภาพ กรุณาบอกให้คนขายลองจอภาพให้ดู       ประกอบการพิจารณา  โดยให้ทางคนขายเปิดโปรแกรมที่ใช้งานโดยทั่วไป เช่น    โปรดแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ โปรแกรมกระดานอเล็กทรอนิกส์  โปรดแกรมวาดภาพโปรแกรมมัลติมีเดียจากซีดีรอมหรือเกม รวมทั้งภาพเคลื่อนไหว  แล้วให้สังเกตดู  ทั้งคุณภาพของตัวอักษร และรูปภาพบนจอภาพว่าแสบตาหรือไม่  รวมทั้งมีความคมชัดเป็นที่น่าพอใจหรือไม่  สำหรับวิธีที่ดีที่สุดในการดูว่าคุณภาพของภาพเป็นอย่างไร ให้ลองดูตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีดำ ซึ่งจะบ่งบอกถึงคุณภาพของจอภาพได้ง่าย และตรงมากที่สุด

ท้ายสุดสำหรับการซื้อจอภาพก็คือความพึงพอใจของผู้ซื้อ  ถ้าคุณมองแล้วชอบก็ซื้อไปเถอะ  เพราะคุณเป็นคนที่รู้ดีที่สุดว่าจอภาพที่คุณเห็น  คุณภาพของภาพที่เห็นคุณพอใจหรือไม่  ผู้ซื้อบางคนาจะชอบยืดติดกับยี่ห้อ  สำหรับคนเขียนก็เป็น  คนหนึ่งที่ยืดติดกับยี่ห้อเหมือนกัน ผู้เขียนมักชอบที่จะใช้จอภาพของ  Sony, NEC หรือไม่ก็ของ  Philip  ถึงแม้ว่าคุณภาพของจอเหล่านี้จะมีคุณภาพที่ดีกว่าจอภาพ    อื่น ๆ  แต่ขอเสียก็อยู่ตรงที่มีราคาแพง  แต่ก็คุ้มค่ากับความสามารถของมันที่จะมอบให้กับเรา  คำแนะนำสุดท้ายของผมเกี่ยวกับซื้อจอภาพก็คือ  ซื้อจอภาพที่ทำให้คุณรู้สึกว่าคุณเกิดมาเพื่อใช้จอภาพนั้น  ผมชอบที่จะสั่งซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์จากหนังสือแค็ตตาล็อก  แต่ไม่มีวันที่จะซื้อจอภาพจากแค็ตตาล็อกเพราะผมจะไม่มีโอกาสเห็นคุณภาพของมันก่อนที่จะซื้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น