บทที่ 5
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
5.1 บทนำ
"ฮาร์ดดิสก์"
สมาร์ทฮาร์ดดิสก์เป็นระบบเพิ่มประสิทธิภาพปลอมที่อ้างในการสแกนฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ของคุณ (HDD, RAM ฯลฯ ) สำหรับปัญหาโปรแกรมนี้จะคล้ายกับการค้นพบก่อนหน้านี้ระบบการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการปลอมเช็ค, แก้ไขระบบ, Restore และอื่น ๆ อีกมากมายโปรแกรมเหล่านี้มีความแตกต่างจากการใช้งานที่ทำให้เข้าใจผิดที่พบบ่อยที่สุดซึ่งพยายามที่จะหลอนคุณไปคิดว่าคอมพิวเตอร์ของคุณมีปัญหาด้านความปลอดภัย, ฮาร์ดดิสก์สมาร์ทพยายามที่จะโน้มน้าวให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ว่าฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ของพวกเขาได้ผิดปกติและว่าพวกเขาจะสูญเสียข้อมูลที่เก็บไว้ของพวกเขาโปรแกรมนี้โกงจะถูกกระจายไปโดยอาชญากรอินเทอร์เน็ตที่ใช้วิธีการสร้างความเข้าใจผิดต่างๆที่จะติดตั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบปลอมของพวกเขาไปยังคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่สงสัยวิธีที่พบมากที่สุดของการแพร่กระจายของระบบสแกนเนอร์ดังกล่าวปลอมเป็นเหมือน HDD สมาร์ทผ่านแคมเปญสแปมเว็บไซต์ที่ถูกแย่งชิงและโทรจัน
สมาร์ทฮาร์ดดิสก์เป็นระบบเพิ่มประสิทธิภาพปลอมที่อ้างในการสแกนฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ของคุณ (HDD, RAM ฯลฯ ) สำหรับปัญหาโปรแกรมนี้จะคล้ายกับการค้นพบก่อนหน้านี้ระบบการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการปลอมเช็ค, แก้ไขระบบ, Restore และอื่น ๆ อีกมากมายโปรแกรมเหล่านี้มีความแตกต่างจากการใช้งานที่ทำให้เข้าใจผิดที่พบบ่อยที่สุดซึ่งพยายามที่จะหลอนคุณไปคิดว่าคอมพิวเตอร์ของคุณมีปัญหาด้านความปลอดภัย, ฮาร์ดดิสก์สมาร์ทพยายามที่จะโน้มน้าวให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ว่าฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ของพวกเขาได้ผิดปกติและว่าพวกเขาจะสูญเสียข้อมูลที่เก็บไว้ของพวกเขาโปรแกรมนี้โกงจะถูกกระจายไปโดยอาชญากรอินเทอร์เน็ตที่ใช้วิธีการสร้างความเข้าใจผิดต่างๆที่จะติดตั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบปลอมของพวกเขาไปยังคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่สงสัยวิธีที่พบมากที่สุดของการแพร่กระจายของระบบสแกนเนอร์ดังกล่าวปลอมเป็นเหมือน HDD สมาร์ทผ่านแคมเปญสแปมเว็บไซต์ที่ถูกแย่งชิงและโทรจัน
5.2 การทำงานของฮาร์ดดิสก์
การทำงานของฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1950 ตอนนั้น มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุระดับเพียงเมกะไบต์เท่านั้น ( 1 เมกะไบต์ เท่ากับ 1,000,000 ไบต์) ตอนแรกใช้ชื่อว่า ฟิกส์ดิสก์ (Fixed disks) หรือ วินเชสเตอร์ (Winchesters) เป็นชื่อที่บริษัท IBM เรียกผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของพวกเขา ภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เพื่อให้มีความแตกต่างจากฟลอปปี้ดิสก์( Floppy disk) ภายในฮารด์ดิสก์ มีส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด คือ จานกลมแข็ง ซึ่งฉาบไว้ด้วยสารแม่เหล็ก
หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี
มีความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์ดังนี้
- สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก
- สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที
- แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.00 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 10 ถึง 40 กิกะไบต์ ( 1 กิกะไบต์ = 1000 เมกะไบต์) ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป
เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ
- อัตราการไหลของข้อมูล ( Data rate) คือจำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที
- เวลาค้นหา (Seek time) เวลาที่ข้อมูลถูกส่งไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที
ภายในฮาร์ดดิสก์ วิธีดีที่สุดในการรู้จักฮาร์ดดิสก์ คือแกะออกมาดูภายในกัน ภาพล่างนี้เป็นฮาร์ดดิสก์ที่เรานำมาใช้กันอยู่
กล่องอลูมิเนียมผนึกไว้เป็นอย่างดี โดยมีแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ติดไว้อยู่ที่ด้านหนึ่งของฮาร์ดดิสก์โดยแผงวงจรควบคุมนี้ จะควบคุมมอเตอร์ให้หมุน และอ่านหรือเขียนข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์
ใต้แผ่นควบคุม หรือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นมอเตอร์ที่ใช้ในการหมุนแผ่นจานภายใน และมีตัวกรองอากาศที่ละเอียด และมีรูอากาศที่เล็กมาก แต่ต้องไม่ให้ตัน เพื่อให้ความดันอากาศภายนอกกับภายในฮาร์ดดิสก์ต้องเท่ากัน
แกะฝาครอบออกมาจะเห็นอุปกรณ์ภายใน ที่แสนจะธรรมดา แต่ว่ามีความเที่ยงตรงสูงมากๆ
ในรูปนี้คุณจะเห็น - แผ่นจานแม่เหล็กที่สามารถหมุนได้ 3600 หรือ 7200 รอบต่อนาที ช่องว่างภายในมีขนาดเล็กมาก และ บนแผ่นมีความเรียบมาก เหมือนแผ่นกระจก - จะมีหัวอ่านอยู่ที่ปลายแขน ซึ่งสามารถควบคุมด้วยกลไก ที่อยู่มุมบนซ้าย ตำแหน่งของหัวอ่านสามารถเปลี่ยนได้ จากจุดศูนย์กลางของแผ่นจนถึงขอบแผ่น การเคลื่อนที่เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและนิ่มนวลมาก ใน 1 วินาที สามารถเคลื่อนที่กลับไปมาได้ ถึง 50 ครั้ง ช่างน่าอัศจรรย์ล้ำลึกจริงๆ
เพื่อจะเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์ให้มากขึ้น ให้วางแผ่นแม่เหล็กซ้อนกันหลายๆชั้น ในรูปเป็นแผ่นแม่เหล็ก 3 แผ่น มีหัวอ่านเขียน 6 หัว
กลไกที่ใช้การหมุนแขนบนตัวฮาร์ดดิสก์ มีความเร็วและความเที่ยงตรงสูงมาก จึงต้องใช้ลิเนียร์มอเตอร์ ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
ภายในมีส่วนประกอบที่สำคัญมากคือ คอยส์เสียง หรือ (Voice coil) ซึ่งเป็นคอยส์ที่อยู่ในลำโพงทั่วไป
การเก็บข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บลงบนแผ่นเรียกว่า เซกเตอร์ หรือแทรคส์ แทคส์เป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นรูปเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทคส์ดังรูป
แทคส์แสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซคเตอร์แสดงด้วยสีน้ำเงิน ภายในเซคเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซคเตอร์หลายๆ เซคเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทคส์และเซคเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทคส์หรือเซคเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น
5.3 การเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์
การเก็บข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งมา ให้ ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ แบบตั้งโต๊ะ แบบโน้ตบุ๊กทั่วไป ข้อมูลที่จัด เก็บไว้สามารถนำกลับมา ปรับปรุงแก้ไขใหม่ได้ ตลอดเวลาทั้ง ข้อมูลภาพ ข้อมูลข้อความ ข้อมูลเสียง ข้อมูลภาพยนตร์ ข้อเสียคือ ถ้าฮาร์ดดิสก์ชำรุดเสียหายจะไม่สามารถกู้ข้อมูลคืนมาได้
การเก็บข้อมูล
หน่วยความจุข้อมูลของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
มีดังนี้
ชื่อหน่วย
|
อักษรย่อ
|
เลขยกกำลัง
|
ค่า
|
หลัก
|
กิโลไบท์
|
KB
|
103
|
1,000
|
พัน
|
เมกะไบท์
|
MB
|
106
|
1,000,000
|
ล้าน
|
กิกะไบท์
|
GB
|
109
|
1,000,000,000
|
พันล้าน
|
เทราไบท์
|
TB
|
1012
|
1,000,000,000,000
|
แสนล้าน
|
ไบต์ (Byte) หนึ่งไบต์มีค่าเท่ากับเลขฐานสองแปดชุดหรือ แปด บิต
ใช้แทนค่าตัว อักขระ ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลขและเครื่องหมาย ต่าง ๆ
ที่อยู่บนแผงแป้นอักขระ หรือจะ เรียกว่า หนึ่ง ไบต์หมายถึงตัว อักขระหนึ่งตัวก็ได้
เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ใช้เลขฐานสองเป็น ภาษาของ เครื่อง ค่าต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์จึงใช้เลขฐานสอง
แทนฐานสิบ เช่น หนึ่ง กิโลไบท์ของ คอมพิวเตอร์ จะเท่ากับ 210 แต่ การบอกเป็นเลขฐานสิบจะสะดวกกว่าเพราะ
เป็นเลขจำนวนเต็ม หลักจำง่าย จึงอนุโลมให้ใช้เลขฐานใดก็ได้ในการบอกความจุ ข้อมูล
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
(Hard Disk Drive) ฮาร์ดดิสก์มีชื่อย่อว่า HDD คำว่า ไดรฟ์ หมายถึง หมุน
เป็นอุปกรณ์ที่มีความจุข้อมูลที่สุงสุด ในบรรดาหน่วยเก็บ ทั้งหลายจัดเก็บข้อมูลด้วยระบบ
สนามแม่เหล็ก โดยมีแผ่นจานข้อมูลชนิดแข็งหมุนอยู่ภาย ในกล่องที่บรรจุโครง สร้างของ แผ่นบันทึกจะแบ่งออกเป็นวงเรียงลำดับจากนอกเข้าหา ในเรียกว่าTrack ใน แต่ละแทรค แบ่งเป็นส่วน ๆ
เรียกว่า เซกเตอร์ (Sector) ข้อมูลจะถูกเก็บในเซกเตอร์แบบสุ่ม
คือ พบที่ว่าง ตรงไหน ก็เก็บข้อมูลลงไปพร้อมกับระบุตำแหน่ง เริ่มต้นของข้อมูลและ
ตำแหน่งสิ้นสุด ของข้อมูลหรือตำแหน่งที่จะอ่านข้อมูลชุดต่อไป เอาไว้ ตำแหน่งข้อมูล
เรียกว่า แอดเดรส (Address)
การอ่านและบันทึกข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะใช้หัวอ่านเป็นระบบ สนามแม่เหล็กวางบนแขน ที่เลื่อนเข้าออกได้ มีสองหัวอ่านอยู่ ด้าน บนและด้านล่าง
การอ่านและบันทึกข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะใช้หัวอ่านเป็นระบบ สนามแม่เหล็กวางบนแขน ที่เลื่อนเข้าออกได้ มีสองหัวอ่านอยู่ ด้าน บนและด้านล่าง
ซ้ายฮาร์ดดิสก์บรรจุในตลับ ขวาแผ่นจานและหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ ที่มา : http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/work_hd.html |
อ่านข้อมูลพร้อมกันทั้งสองหน้า การเข้าถึงข้อมูล ทุกตำแหน่งของหัวอ่านจะใช้เวลา
เท่ากันหมด ฮาร์ดิสก์ของเครื่องรุ่นใหม่จะมีความจุสูงถึง
1 เทราไบต์
การ ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่ จะแบ่งเป็นฮาร์ดดิสก์ออกเป็นหลายส่วน
แต่ละส่วนจะมีชื่อเรียกเป็นอักษรตัวเดียว โดด ๆ เช่น C: และ D:
ฮาร์ดดิสก์ C: เป็นตัวที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ
ส่วน D: ใช้เก็บข้อมูล การใช้โปรแกรมชุดไมโครซอฟต์ออฟฟิซตามปกติ
เมื่อสั่งบันทึก ข้อมูลจะเก็บไว้ที่ โฟลเดอร์ My Document ใน
C: ข้อเสียของการ เก็บข้อมูลที่ C: ก็คือ
ถ้าระบบปฏิบัติการใน ฮาร์ดดิสก์ถูกโปรแกรม ไว้รัสทำลายจนแก้ไขไม่ได้จะต้องติดตั้ง
ระบบปฏิบัติการโดยการ ฟอร์แมทฮาร์ดดิสก์ใหม่ ข้อมูลจะถูกลบไปด้วย ดังนั้นควรสร้าง
โฟลเดอร์และเก็บข้อมูลที่ D : จะปลอดภัยกว่า เพราะการฟอร์แมท
จะไม่ลบข้อมูลที่
5.4การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์
การจัดเรียงข้อมูลบนดิสก์เป็นกระบวนการรวมข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายบนไดรฟ์ข้อมูล (เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูล) เพื่อให้ข้อมูลทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การกระจายตัวของข้อมูลจะเกิดขึ้นกับไดรฟ์ข้อมูลตลอดเวลาเมื่อคุณบันทึก เปลี่ยนแปลง หรือลบแ้ฟ้ม การเปลี่ยนแปลงที่คุณบันทึกลงแฟ้มมักถูกเก็บไว้บนพื้นที่อื่นของไดรฟ์ที่ไม่ใช่แฟ้มเดิม การดำเนินการเช่นนี้ไม่ได้เปลี่ยนตำแหน่งที่แฟ้มจะปรากฏใน Windows แต่ข้อมูลบางส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นแฟ้มนั้นจะถูกเปลี่ยนตำแหน่งในการจัดเก็บบนไดรฟ์จริง เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งแฟ้มและไดรฟ์จะเริ่มมีข้อมูลกระจัดกระจาย และคอมพิวเตอร์จะทำงานช้าลงเนื่องจากต้องมองหาข้อมูลจากหลายตำแหน่งเพื่อเปิดแฟ้มๆ เดียว
'ตัวจัดเรียงข้อมูลบนดิสก์' เป็นเครื่องมือจัดเรียงข้อมูลบนไดรฟ์ข้อมูลใหม่และรวบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกันเพื่อให้คอมพิวเตอร์ของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใน Windows รุ่นนี้ 'ตัวจัดเรียงข้อมูลบนดิสก์' จะถูกเรียกใช้งานตามกำหนดการ ดังนั้นคุณจึงไม่ต้องคอยจดจำว่า้ต้องเรียกใช้โปรแกมนี้ แ่ต่คุณก็สามารถเรียกใช้งานด้วยตนเองหรือเปลี่ยนกำหนดการใช้งานได้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ให้ดูที่ การเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ และ การจัดกำหนดการเรียกใช้ 'ตัวจัดเรียงข้อมูลบนดิสก์' เป็นประจำ
5.5 การทำงานของหัวอ่าน- เขียน
การทำงานของหัวอ่านเขียน
หัวอ่านเขียนของฮาร์ดดิสก์นับเป็นชิ้นส่วนที่มีราคาแพงที่สุด และลักษณะของมัน ก็มีผลกระทบอย่างยิ่งกับ ประสิทธิภาพ ของฮาร์ดดิสก์โดยรวม หัวอ่านเขียนจะเป็นอุปกรณ์แม่เหล็ก มีรูปร่างคล้าย ๆ ตัว “C” โดยมีช่อง ว่างอยู่เล็กน้อย โดยจะมีเส้นคอยล์ พันอยู่รอบหัวอ่านเขียนนี้เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า การเขียนข้อมูล จะใช้ วิธีการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านคอยล์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ของสนามแม่เหล็กซึ่งจะส่งผลให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงที่แพล็ตเตอร์ ส่วนการอ่านข้อมูลนั้น จะรับค่าความเปลี่ยนแปลง ของสนามแม่เหล็กผ่าน คอยล์ที่อยู่ที่หัวอ่าน เขียนแล้วแปลงค่าที่ได้เป็น สัญญาณส่งไปยังซีพียู ต่อไปเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปความ หนาแน่นของข้อมูลก็ยิ่ง เพิ่มขึ้นในขณะที่เนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลก็จะลดขนาดลง ขนาดบิตของข้อมูลที่เล็กนี้ ทำให้สัญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว ส่งไปยังหัวอ่านนั้นอ่อนลง และอ่านได้ยากขึ้น ด้วเหตุนี้ทางผู้พัฒนาจึงจำเป็น ต้องวางหัวอ่านให้กับสื่อมากขึ้นเพื่อ ลดการสูญเสียสัญญาณ จากเดิมในปี 1973 ที่หัวอ่านเขียนบินอยู่ห่างสื่อ ประมาณ 17 microinch (ล้านส่วนของนิ้ว) มาในปัจจุบันนี้หัวอ่านเขียน บินอยู่เหนือแผ่นแพล็ตเตอร์เพียง 3 microinch เท่านั้น เหมือนกับการนำเครื่องบิน โบอิ้ง 747 มาบินด้วยความเร็วสูงสุด โดยให้บินห่างพื้นเพียง 1 ฟุต แต่ที่สำคัญก็คือหัวอ่านเขียนนั้นไม่เคยสัมผัส กับแผ่นแพล็ตเตอร์ ที่กำลังหมุนอยู่เลยเมื่อเครื่อง คอมพิวเตอร์ถูกปิด ฮาร์ดดิสก์จะหยุดหมุนแล้วหัวอ่านเขียนจะ เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย และหยุดอยู่ตรงนั้น ซึ่งแยกอยู่ต่างหากจากพื้นที่ที่ใช้เก็บข้อมูล
Seek Time
คือระยะเวลาที่แขนยืดหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ เคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไประหว่างแทร็คของข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ ซึ่งในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ จะมีแทร็คข้อมูลอยู่ประมาณ 3,000 แทร็คในแต่ละด้านของแพล็ตเตอร์ ขนาด 3.5 นิ้ว ความสามารถในการเคลื่อนที่ จากแทร็คที่อยู่ไปยังข้อมูลในบิตต่อ ๆ ไป อาจเป็นการย้ายตำแหน่งไปเพียง อีกแทร็คเดียวหรืออาจย้ายตำแหน่งไปมากกว่า 2,999 แทร็คก็เป็นได้ Seek time จะวัดโดยใช้หน่วยเวลาเป็น มิลลิเซก (ms) ค่าของ Seek time ของการย้ายตำแหน่งของแขนยึดหัวอ่านเขียน ไปในแทร็คถัด ๆ ไปในแทร็คที่ อยู่ติด ๆ กันอาจใช้เวลาเพียง 2 ms ในขณะที่การย้ายตำแหน่งจากแทร็คที่อยู่นอกสุดไปหาแทร็คที่อยู่ในสุด หรือ ตรงกันข้ามจะต้องใช้เวลามากถึงประมาณ 20 ms ส่วน Average seek time จะเป็นค่าระยะเวลาเฉลี่ย ในการย้ายตำแหน่ง ของหัวเขียนอ่านไปมาแบบสุ่ม (Random) ในปัจจุบันค่า Average seek time ของ ฮาร์ดดิสก์จะอยู่ ในช่วงตั้งแต่ 8 ถึง 14 ms แม้ว่าค่า seek จะระบุเฉพาะคุณสมบัติในการทำงานเพียง ด้านกว้างและยาวของ แผ่นดิสก์ แต่ค่า Seek time มักจะถูกใช้ในการเปรียบเทียบ คุณสมบัติทางด้านความ เร็วของฮาร์ดดิสก์เสมอ ปกติ แล้วมักมีการเรียกรุ่นของฮาร์ดดิสก์ตามระดับความเร็ว Seek time ของตัว ฮาร์ดดิสก์เอง เช่นมีการเรียกฮาร์ดดิสก์ ที่มี Seek time 14 ms ว่า “ฮาร์ดดิสก์ 14 ms” ซึ่งก็แสดงให้ทราบว่า ฮาร์ดดิสก์รุ่นนั้น ๆ มีความเร็วของ Seek time ที่ 14 ms อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการใช้ค่าความเร็ว Seek time กำหนดระดับชั้นของฮาร์ดดิสก์จะสะดวก แต่ค่า Seek time ก็ยังไม่สามารถแสดงให้ประสิทธิภาพทั้งหมด ของฮาร์ดดิสก์ได้ จะแสดงให้เห็นเพียงแต่การค้นหาข้อมูลในแบบสุ่ม ของตัวไดร์ฟเท่านั้น ไม่ได้แสดงในแง่ของ การอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential) ดังนั้น ให้ใช้ค่า seek time เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ในการตัดสิน ประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์เท่านั้น
Head Switch Time
เป็นเวลาสลับการทำงาของหัวอ่านเขียน แขนยึดหัวอ่านเขียนจะเคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไปบนแพล็ตเตอร์ ที่อยู่ในแนวตรงกัน อย่างไรก็ตามหัวอ่านเขียนเพียงหัวเดียวเท่านั้นที่อ่านหรือบันทึกข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ระยะเวลา ในการสลับกันทำงาน ของหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยเวลาเฉลี่ยที่ตัวไดร์ฟใช้สลับ ระหว่างหัวอ่านเขียน สองหัวในขณะ อ่านบันทึกข้อมูล เวลาสลับหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยหน่วย ms
Cylinder Switch Time
เวลาในการสลับไซลินเดอร์ สามารถเรียกได้อีกแบบว่าการสลับแทร็ค (track switch) ในกรณีนี้แขนยึดหัวอ่านเขียน จะวางตำแหน่งของหัวอ่านเขียนอยู่เหนือไซลินเดอร์ข้อมูลอื่น ๆ แต่มีข้อแม้ว่า แทร็คข้อมูลทั้งหมดจะต้องอยู่ใน ตำแหน่งเดียวกันของแพล็ตเตอร์อื่น ๆ ด้วย เวลาในการสลับระหว่าง ไซลินเดอร์จะวัดด้วยระยะเวลาเฉลี่ยที่ตัว ไดร์ฟใช้ในการสลับจากไซลินเดอร์หนึ่งไปยัง ไซลินเดอร์อื่น ๆ เวลาในการสลับไซลินเดอร์จะวัดด้วยหน่วย ms
Rotational Latency
เป็นช่วงเวลาในการอคอยการหมุนของแผ่นดิสก์ภายใน การหมุนภายในฮาร์ดดิสก์จะเกิดขึ้นเมื่อหัวอ่าน เขียนวางตำแหน่ง อยู่เหนือแทร็คข้อมูลที่เหมาะสมระบบการทำงาน ของหัวอ่านเขียนข้อมูลจะรอให้ตัวไดร์ฟ หมุนแพล็ตเตอร์ไปยังเซ็กเตอร์ที่ถูกต้อง ช่วงระยะเวลาที่รอคอยนี้เองที่ถูกเรียกว่า Rotational Latency ซึ่งจะวัด ด้วยหน่วย ms เช่นเดียวกัน แต่ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับ RPM (จำนวนรอบต่อนาที) ด้วยเช่นกัน
5.6การเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์
ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น
5.7ระยะเวลาอ่านหรือหาข้อมูล ( Seek Time )
เป็นระยะเวลาที่แกนยืดหัวอ่านเขียน Hard Disk เคลื่อนหัวอ่านเขียนไประหว่างแทร็คของข้อมูลบน Hard Disk ซึ่งในปัจจุบัน Hard Disk จะมีแทร็คข้อมูลอยู่ประมาณ 3,000 แทร็คในแต่ละด้านของแพล็ตเตอร์ ขนาด 3.5 นิ้ว ความสามารถในการเคลื่อนที่ จากแทร็คที่อยู่ไปยังข้อมูลในบิตต่อไป อาจเป็นการย้ายตำแหน่งไปเพียง อีกแทร็คเดียวหรืออาจย้ายตำแหน่งไปมากกว่า 2,999 แทร็คก็เป็นได้ Seek time จะวัดโดยใช้หน่วยเวลาเป็น มิลลิเซก (ms) ค่าของ Seek time ของการย้ายตำแหน่งของแขนยึดหัวอ่านเขียน ไปในแทร็คถัดไปในแทร็คที่ อยู่ติดๆกันอาจใช้เวลาเพียง 2 ms ในขณะที่การย้ายตำแหน่งจากแทร็คที่อยู่นอกสุดไปหาแทร็คที่อยู่ในสุด หรือ ตรงกันข้ามจะต้องใช้เวลามากถึงประมาณ 20 ms ส่วน Average seek time จะเป็นค่าระยะเวลาเฉลี่ย ในการย้ายตำแหน่ง ของหัวเขียนอ่านไปมาแบบสุ่ม (Random) ในปัจจุบันค่า Average seek time ของ Hard Disk จะอยู่ ในช่วงตั้งแต่ 8 ถึง 14 ms แม้ว่าค่า seek จะระบุเฉพาะคุณสมบัติในการทำงานเพียง ด้านกว้างและยาวของ แผ่นดิสก์ แต่ค่า Seek time มักจะถูกใช้ในการเปรียบเทียบ คุณสมบัติทางด้านความ เร็วของ Hard Disk ปกติจะเรียกรุ่นของ Hard Disk ตามระดับความเร็ว Seek ค่า Seek time ยังไม่สามารถแสดงให้ประสิทธิภาพทั้งหมดของ Hard Disk ได้ จะแสดงให้เห็นเพียงแต่การค้นหาข้อมูลในแบบสุ่ม ของตัว Drive เท่านั้น ไม่ได้แสดงในแง่ของ การอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential)
5.8 ส่วนประกอบหลักของฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อน ของมอเตอร์ด้วยความเร็ว 3600 รอบต่อนาที แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
ฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อน ของมอเตอร์ด้วยความเร็ว 3600 รอบต่อนาที แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
จากรูปเป็นภาพตัดขวางของฮาร์ดดิสค์แสดงแผ่นจาน แกนหมุน Spindle หัวอ่านเขียน และก้านหัวอ่านเขียน
ที่มา http://www.pbps.ac.th/e_learning/combasic/picture1/hd-04.gif |
จากรูปแสดงฮาร์ดดิสค์ที่มีแผ่นจาน 2 แผ่น พร้อมการกำกับชื่อแผ่นและหน้าของดิสค์ ผิวของ แผ่นจานกับหัวอ่านเขียนจะอยู่เกือบชิดติดกัน คือห่างกันเพียงหนึ่งในแสนของนิ้ว และระยะห่างนี้ ในระหว่างแทร็กต่าง ๆ ควรสม่ำเสมอเท่ากัน ซึ่งกลไกของเครื่องและการประกอบฮาร์ดดิสค์ต้อง ละเอียดแม่นยำมาก การหมุนอย่างรวดเร็วของแผ่นจาน ทำให้หัวอ่านเขียนแยกห่างจากผิวจาน ด้วยแรงลมหมุนของจาน แต่ถ้าแผ่นจานไม่ได้หมุนหรือปิดเครื่อง หัวอ่านเขียนจะเลื่อนลงชิดกับ แผ่นจาน ดังนั้นเวลาเลิกจากการใช้งานเรานิยมเลื่อนหัวอ่านเขียนไปยังบริเวณที่ไม่ได้ใช้เก็บข้อมูล ที่เรียกว่า Landing Zone เพื่อว่าถ้าเกิดการกระแทรกของหัวอ่านเขียนและผิวหน้าแผ่นจานก็จะไม่มีผลต่อข้อมูลที่เก็บไว้
ฮารด์ดิกส์เป็นอุปกรณ์ที่รวมเอาองค์ประกอบ ทั้งกลไกการทำงาน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เข้าไว้ด้วยกัน แม้ว่าฮาร์ดดิสก์ นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนที่สุด ในด้านอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนไหว แต่ในความเป็นจริงแล้วการอธิบายการทำงาน ของฮาร์ดดิสก์นั้นถือว่าได้ง่าย ภายในฮาร์ดดิสก์นั้นจะมีแผ่น Aluminum Alloy Platter หลายแผ่นหมุนอยู่ด้วยความเร็วสูง โดยจะมีจำนวนแผ่นขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อต่างกันไป เมื่อผู้ใช้ พิมพ์คำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน แขนกลของฮาร์ดดิสก์ จะรอบรับคำสั่งและเคลื่อนที่ ไปยังส่วนที่ถูกต้องของ Platter เมื่อถึงที่หมายก็จะทำการอ่านข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์นั้น หัวอ่านจะอ่านข้อมูลแล้วส่งไปยัง ซีพียู จากนั้น ไม่นานข้อมูลที่ต้องการก็จะปรากฏ การทำงานเขียนอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิกส์ จะมีการทำงาน คล้ายกับการทำงาน ของของเทปคาสเซ็ท แพล็ตเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ นั้นจะเคลือบไปด้วยวัตถุจำพวกแม่เหล็ก ที่มีขนาดความหนา เพียง 2-3 ในล้านส่วนของนิ้ว แต่จะต่างจากเทปทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์นั้นจะใช้หัวอ่านเพียง หัวเดียวในการทำงาน ทั้งอ่าน และเขียนข้อมูลบนฮาร์ดดิกส์ ส่วนเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์นั้นหัวอ่านจะได้ รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่ คอยล์ของหัวอ่าน เพื่อสร้างรูปแบบแม่เหล็กบนสื่อ ที่เคลือบอยู่บนแพล็ตเตอร์ซึ่งเท่า กับเป็นการเขียนข้อมูลลงบน ฮาร์ดดิสก์ การอ่านนั้น ก็จะเป็นการแปลงสัญญาณรูปแบบแม่เหล็กที่ได้บันทึก อยู่บนฮาร์ดิสก์กลับแล้วเพิ่ม สัญญาณและทำการ ประมวลผล ให้กลับมาเป็นข้อมูลอีกครั้งอีก
จุดที่แตกต่าง กันของการเก็บข้อมูลระหว่าง ออดิโอเทปกับฮาร์ดดิสก์นั้นก็ คือเทปจะเก็บข้อมูลในรูปแบบของ สัญญาณ อนาล็อก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์นั้นจะ เก็บในรูป สัญญาณ ดิจิตอลโดยจะเก็บเป็นเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ฮาร์ดดิสก์ จะเก็บข้อมูลไว้ใน Track หรือ เส้นวงกลม โดยจะเริ่มเก็บข้อมูลที่ด้านนอกสุด ของฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นจึงไล่เข้ามาด้านในสุด โดยฮาร์ดดิสก์ จะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถสุ่มเข้าถึงข้อมูลได้ คือการที่หัวอ่าน สามารถเคลื่อนที่ ไปอ่านข้อมูลบนจุดใดของ ฮาร์ดดิสก์ก็ได้ ไม่เหมือนกับเทปเพลงที่หากจะต้องการฟังเพลง ถัดไปเราก็ต้องกรอเทป ไปยังจุดเริ่มต้นของเพลงนั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ นั้นสามารถบินอยู่เหนือพื้นที่จัดเก็บ ข้อมูลทันทีที่ได้รับตำแหน่งมาจากซีพียู ซึ่งการเข้า ถึงข้อมูลแบบสุ่มนี้เป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์ สามารถแทนที่เทปในการเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสก์นั้นสามารถ เก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้านของ แพล็ตเตอร์ ถ้าหัวอ่านเขียนนั้นอยู่ทั้ง 2 ด้าน ดังนั้นฮาร์ดดิสก์ที่ มีแพล็ตเตอร์ 2 แผ่นนั้นสามารถมีพื้นที่ในการ เก็บข้อมูลได้ถึง 4 ด้าน และมีหัวอ่านเขียน 4 หัวการเคลื่อนที่ของ หัวอ่านเขียนนี้จะมีการเคลื่อนที่ไปพร้อม ๆ กันโดยจะมีการเคลื่อนที่ที่ตรงกัน Track วงกลมนั้นจะถูกแบ่งออก เป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า Sector การเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์นั้นจะเริ่มเขียนจากรอบนอกสุด ของฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นเมื่อข้อมูลใน Track นอกสุดถูกเขียนจนเต็มหัวอ่านก็จะเคลื่อนมายังแทร็กถัดมา ที่ว่างแล้วทำการเขียน ข้อมูลต่อไป ซึ่งก็ด้วยวิธีการนี้ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงเป็นอย่างมากเพราะหัวอ่านเขียนสามารถบันทึกข้อ มูลได้มากกว่า ในตำแหน่งหนึ่งก่อนที่จะเคลื่อนที่ไปยังแทร็คถัดไป
ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีฮาร์ดดิสก์แบบ 4 แพล็ตเตอร์อยู่และหัวอ่านเขียนอยู่ที่แทร็ค 15 ไดร์ฟจะเขียนข้อมูลลงในแทร็ค 15 บนทั้ง 2 ด้านของ แพล็ตเตอร์ ทั้ง 4 จนเต็มจากนั้นจึงเคลื่อนเข้าไปหาที่แทร็ค 16 ต่อไป การหมุนของแพล็ตเตอร์นั้นนับได้ว่า เร็วมาก ความเร็วต่ำ สุดก็เท่ากับ 3,600 รอบต่อนาที และปัจจุบันสูงสุดนับหมื่นรอบ ซึ่งเป็นการทำงานที่เร็วกว่า ฟล็อบปี้ดิสก์หรือเทปมาก ด้วยความเร็วขนาดนี้ทำให้หัวอ่านเขียนขนาดเล็กสามารถลอยหรือบินอยู่เหนือพื้น ผิวได้หัวอ่านเขียนนั้นได้รับการ ออกแบบให้บินอยู่เหนือแผ่นแพล็ตเตอร์ที่กำลังหมุนอยู่ด้วยความเร็วสูงนี้ ในความสูงเพียง 3 ล้านส่วนของนิ้ว ซึ่ง เท่ากับว่าระยะห่างระหว่างหัวอ่านเขียนและแพล็ตเตอร์นั้นมีขนาดเล็ก กว่าเส้นผมของคนเราหรือแม้กระทั่งฝุ่นมาก หากเกิดการกระแทก อย่างรุนแรงขึ้นกับฮาร์ดดิสก์จนทำให้ หัวอ่านเขียนสัมผัสกับแผ่นแพล็ตเตอร์ก็จะทำให้พื้นผิว หรือหัวอ่านเขียน เกิดการเสียหาย ซึ่งส่งผลให้เกิด ปัญหาข้อมูลเสียหาย หรือถ้าโชคร้ายก็คือฮาร์ดดิสก์พังอย่างแก้ไข ไม่ได้ อย่างไรก็ตามปัญหานี้มักจะไม่เกิด กับฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการ ผลิตที่สูงขึ้นและได้รับการป้องกัน เป็นอย่างดีโดยถูกสร้าง ให้สามารถ รับแรงกระแทกได้สูงถึง 70-100 เท่าของ แรงดึงดูด (70-100G)
5.9พาร์ติชันฮาร์ดดิสก์
สำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ แล้วอาจจะสังเกตว่าเวลาที่เราใช้งานนั้น จะมี ไดร์ต่างๆ
ซึ่งมีมากกว่า
2 ครับเพราะว่าการที่เราจำเป็นต้องแบ่ง พาร์ติชั่นนั้นมีประโยชน์มากมาย เพราะว่าการแบ่งนั้นนอกจากมีประโยชน์ในการจัดเก็บข้อมูลของเครื่องเราแล้ว แต่ก็ยังที่จะสามารถ Blackup ของข้อมูลสำคัญเพื่อเป็นสำรองข้อมมูลไม่ให้หายไปอีกด้วย และที่สำคัญถ้าหากระบบ Windows เกิดปัญหาหรือเกิดการเสียหายแล้วเราอาจที่จะล้างข้อมูลส่วนนั้นได้โดยไม่กระทบในส่วนอื่นที่เราเก็บข้อมูลเอาไว้ เช่นถ้าหาก
เราเอาระบบ windows ไว้ที่ไดรว์ C
แต่เราเก็บข้อมูลไว้ที่
ไดรว์ D เราก็สามารถที่จะ ล้างระบบของ windows ซึ่งอยู่ที่ ไดรว์ C ได้โดยที่ไม่ได้ไปกระทบระบบ ของไดวร์ D แต่อย่างใดเพราะฉะนั้นแล้วเราจึงไม่ควรที่จะมองข้ามการแบ่ง
พาร์ติชั้น
พาร์ติชันเป็นการแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนๆ เพื่อเป็นการจัดโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ โดยการจัดการและการกำหนดขนาดของ พาร์ติชั่นของแต่ละไดรว์นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้เอง โดยการจัดการความต้องการนั้นขึ้นอยู่กับความจุของฮาร์ดดิสก์ เช่น เมื่อเรามี ฮาร์ดดิสก์ จำนวน 200 GB เราก็สามารถที่จะกันพื้นที่บางส่วนไว้ ติดตั้ง Windows
50 GB ไว้เก็บข้อมูล
150 GB เป็นต้น
5.10ประเภทของพาร์ติชั้น
พาร์ติชันมีอยู่ 3 แบบ
โดยทั่วไปลักษณะของพาร์ติชันมีอยู่
3 แบบด้วย
1.พาร์ติชันหลัก (Primary)
เป็นพาร์ติชันหลักที่ฮาร์ดดิสก์ทุกตัวต้องมี ซึ่งเป็นพาร์ติชันแรกที่เราจะกำหนดพื้นที่ให้กับฮาร์ดดิสก์เพราะว่าเป็นพื้นที่ไว้สำหรับการติดตั้ง ระบบปฏิบัติการด้วยจึงควรที่จำกำหนดขนาดให้เหมาะสมด้วย พาร์ติชันหลักนั้นสามารถที่จะตั้งได้สูงสุด 4 พาร์ติชันเท่านั้น
2.พาร์ติชันรอง (Extended)เป็นพาร์ติชันหลักที่ฮาร์ดดิสก์ทุกตัวต้องมี ซึ่งเป็นพาร์ติชันแรกที่เราจะกำหนดพื้นที่ให้กับฮาร์ดดิสก์เพราะว่าเป็นพื้นที่ไว้สำหรับการติดตั้ง ระบบปฏิบัติการด้วยจึงควรที่จำกำหนดขนาดให้เหมาะสมด้วย พาร์ติชันหลักนั้นสามารถที่จะตั้งได้สูงสุด 4 พาร์ติชันเท่านั้น
พาร์ติชันรองเป็นการแบ่ง พื้นที่ไว้สำหรับเก็บข้อมูลนอกเหนือจากพาร์ติชันหลัก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเราก็สมควรที่จะเก็บข้อมูลไว้ส่วนนี้เพราะจะได้ไม่ต้องไปยุ่งกับพาร์ติชันหลักหรือใครที่ติดตั้ง OS สองตัวสามารถที่จะติดตั้งเข้าได้เลน
3.พาร์ติชันย่อย (Logical)
พาร์ติชันย่อย เป็นพาร์ติชันที่ถูกแบ่งออกจากพาร์ติชันรอง เพราะว่าตามจริงแล้วพาร์ติชั่นรองจะไม่สามารถทำงานได้เลยหากไม่แบ่งพาร์ติชันย่อยเสียก่อน เราแบ่งพาร์ติชันรองสำเร็จแล้วเราก็สามารถแบ่งพาร์ชันย่อยออกมาอีก
ระบบไฟล์ของฮาร์ดดิสก์
ระบบไฟล์ FAT 32
ระบบไฟล์ 32 เริ่มใช้งานมาตั้งแต่วินโดวส์ 98 ทั้งนี้เพื่อจักการกับปัญหาที่มีใน FAT โดยเปลี่ยนจากการอ้างอิงตำแหน่งแบบ 16 บิตใน FAT มาเป็นแบบ 32 บิต ทำให้สามารถรองรับฮาร์ดดิสก์ได้ใหญ่สูงสุด 2 TB หรือ 2,000 GB และเมื่อเปลี่ยนไปใช้ FAT32
กับพาร์ติชันขนาด 2 GB จะช่วยลดขนาดของคลัสเตอร์ลงเหลือเพียง 4 KB เท่านั้น
ระบบไฟล์ FAT 32 ปกติจะไม่สามารถรองรับไฟล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 4 GB ได้ ซึ้งปัญหานี้มีเกิดกับการใช้งาน DVD
Writer ที่มีขนาดใหญ่เกิดกว่า
4 GB ถ้าหากต้องการใช้งานแล้วต้องไปเปลี่ยนเป้นการใช้ไฟล์
NTFS เท่านั้น
ระบบไฟล์ NTFS
ระบบไฟล์ NTFS นั้นเป็นระบบไฟล์ชนิดหนึ่งที่สามารถรองรับขนาดของพาร์ติชั่นขนาดใหญ่ได้สบาย ซึ่งได้พัฒนามาใช้ร่วมกับ
Windows NT เพราะระบบไฟล์ชนิดนั้นมีความปลอกภัยสูง และสามารถจัดระบบไฟล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับไฟล์ที่มีขนาดใหญ่
และสามารถสั่งบีบอัดไฟล์ได้อย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเสริม
ที่มา : http://www.comsimple.com/images/basic/p01.bmp |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น